
ชุมชนเคารพศีลมหาสนิท (Eucharistic Congress) คือ กิจการรวมตัวของพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษ เพื่อเป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อศรัทธาในธรรมล้ำลึก พระเยซูเจ้าทรงเป็นอยู่อย่างแท้จริงในศีลมหาสนิท เฉลิมฉลองความรัก พระเมตตาของพระองค์ผู้ทรงประทับอยู่ท่ามกลางมนุษย์เสมอและเทิดเกียรติ ศีลมหาสนิทเป็นพลังชีวิตรักและรับใช้ตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า ทั้งในชีวิตประจำวันส่วนตัวและในชีวิตครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตและพันธกิจแห่งพระศาสนจักรแสวงหาหนทางที่ดีที่สุด เพื่อเผยแพร่ความรู้และความรักศรัทธาต่อศีลมหาสนิทแก่เพื่อนมนุษย์ทุกคน
งานชุมชนเคารพศีลมหาสนิท มีทั้งระดับสังฆมณฑล ระดับชาติ และระดับนานาชาติ คริสตชนและประชาชนจากชุมชนท้องถิ่นในสังฆมณฑลหรือจากดินแดนกว้างใหญ่หรือจากประเทศต่างๆ มาแสดงตน เป็นพยานยืนยันความเชื่อเรื่องการประทับอยู่ของพระเยซูคริสตเจ้าในศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นหนึ่งในธรรมล้ำลึกหลักของความเชื่อคริสตชนทุกคนมาถวายเกียรติสรรเสริญร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ร่วมพิธีอวยพรศีลมหาสนิท แห่ศีลมหาสนิทและเคารพศีลมหาสนิทเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มคนจำนวนมากมายซึ่งมาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเปิดเผยและกว้างขวาง
ประวัติความเป็นมา
การชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทเริ่มในปลายศตวรรษที่ 19 ในประเทศฝรั่งเศส ด้วยความริเริ่มของฆราวาสสตรีชื่อ เอมิลี ทามีฮีเอร์ (ค.ศ. 1834-1910) ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากนักบุญปีเตอร์ จูเลียน อีเมาร์ค (ค.ศ. 1811-1868) จึงได้จัดชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทครั้งแรกระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 1881 ที่เมือง ลีล์ล ประเทศฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาฆราวาส พระสงฆ์ พระสังฆราช และความเห็นชอบของพระสันตะปาปาเลโอ ที่ 13
หัวข้อของงานครั้งแรกคือ “ศีลมหาสนิทช่วยกอบกู้โลก” ผู้จัดเชื่อว่าการฟื้นฟูความเชื่อต่อการประทับของพระคริสตเจ้าในศีลมหาสนิท จะช่วยเยียวยาการละเลยและความเย็นเฉยในศาสนา
ต่อมาพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 10 ประกาศให้คริสตชนสามารถรับศีลมหาสนิทได้บ่อยๆ (ค.ศ. 1905) ทรงอนุญาตให้เด็กอายุรู้ความรับศีลมหาสนิท (ค.ศ. 1910) งานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทเป็นโอกาสส่งเสริมให้ผู้ใหญ่รับศีลมหาสนิทและเด็กมีโอกาสรับศีลมหาสนิทครั้งแรก และได้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติจัดให้มีงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิททุกๆ 4 ปี ซึ่งประกอบด้วย พิธีกรรม พิธีบูชาขอบพระคุณ การนมัสการ การอวยพรศีลมหาสนิท การแห่เทิดเกียรติศีลมหาสนิทอย่างสง่า การสอนคำสอน และการบรรยาย การอภิปราย และเสวนาแบ่งปันพยานชีวิต
การชุมนุมฯ ครั้งที่ 31 ณ เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ (22-26 มิ.ย. 1932)
วัตถุประสงค์ของการชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท
1. ส่งเสริมสัตบุรุษให้ตระหนักถึงความสำคัญของศีลมหาสนิทในชีวิต และพันธกิจของพระศาสนจักรคาทอลิก ในการร่วมพิธีการรมพิธีบูชาขอบพระคุณ พิธีอวยพร และแห่ศีลมหาสนิทร่วมกัน
2. รวมพลังคริสตชนเป็นหนึ่งเดียวแสดงตนยืนยันในความเชื่อศรัทธา และวอนขอพระพรสำหรับแก้ไขปัญหา และการปกป้องคุ้มครองจากภัยพิบัติต่างๆ ทั้งภัยธรรมชาติ ภัยสงครามและความเชื่อหรือลัทธิพฤติกรรม เลวร้ายที่นำหายนะมาสู่ชีวิตและสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ และร่วมพิธีกรรมดีขึ้น
3. ช่วยสัตบุรุษให้สนใจมิติด้านสังคมแห่งศีลมหาสนิท เชื่อศรัทธาต่อศีลมหาสนิท และพระเป็นเจ้าอย่างมั่นคง
พัฒนาการ
ในสมณสมัยของพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 มี การจัดงานระดับนานาชาติในทวีปต่างๆ มีการเพิ่มมิติด้านงานธรรมทูต และการประกาศพระวรสารใหม่ (Re-evangelization) ซึ่งสำนวนนี้มาจากการเตรียมงานเคารพศีลมหาสนิท ที่ กรุงเมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1937
ในตอนเริ่มงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท ครั้งที่ 37 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ค.ศ. 1960 นักพิธีกรรม ชื่อ โยเซฟ ยุงมันน์ (สงฆ์เยสุอิต) ได้เสนอให้เฉลิมฉลองศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางและจุดสุดยอดของการแสดงออกถึงความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้า
ต่อมาสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ธรรมนูญเรื่องพิธีกรรม (ค.ศ. 1963) มีข้อแนะนำเรื่องพระธรรมล้ำลึกศีลมหาสนิท (ค.ศ. 1967 ข้อ 67) และเรื่องการรับศีลมหาสนิทนอกพิธีมิสซา (ค.ศ. 1973 ข้อ 109-112) ได้อธิบายหลักเกณฑ์การจัดงานชุมนุมศีลมหาสนิทตั้งแต่นั้นมา คณะกรรมการจัดงานสนใจปัญหาสังคมของโลกปัจจุบัน กระบวนการศาสนสัมพันธ์และคริสตศาสนสัมพันธ์หรือความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเสวนากับผู้ต่างความเชื่อด้วย
การชุมนุมฯ ครั้งที่ 33 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (3-7 ก.พ. 1937)
คณะกรรมการ (Pontifical Committee)
ในสมณสมัยของพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 มี การจัดงานระดับนานาชาติในทวีปต่างๆ มีการเพิ่มมิติด้านงานธรรมทูต และการประกาศพระวรสารใหม่ (Re-evangelization) ซึ่งสำนวนนี้มาจากการเตรียมงานเคารพศีลมหาสนิท ที่ กรุงเมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 1937
ในตอนเริ่มงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท ครั้งที่ 37 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ค.ศ. 1960 นักพิธีกรรม ชื่อ โยเซฟ ยุงมันน์ (สงฆ์เยสุอิต) ได้เสนอให้เฉลิมฉลองศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางและจุดสุดยอดของการแสดงออกถึงความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้า
ต่อมาสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ธรรมนูญเรื่องพิธีกรรม (ค.ศ. 1963) มีข้อแนะนำเรื่องพระธรรมล้ำลึกศีลมหาสนิท (ค.ศ. 1967 ข้อ 67) และเรื่องการรับศีลมหาสนิทนอกพิธีมิสซา (ค.ศ. 1973 ข้อ 109-112) ได้อธิบายหลักเกณฑ์การจัดงานชุมนุมศีลมหาสนิทตั้งแต่นั้นมา คณะกรรมการจัดงานสนใจปัญหาสังคมของโลกปัจจุบัน กระบวนการศาสนสัมพันธ์และคริสตศาสนสัมพันธ์หรือความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเสวนากับผู้ต่างความเชื่อด้วย
สรุป
พระศาสนจักรสากลได้รับรองการจัดงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท ระดับนานาชาติ (International Eucharistic Congress) ตั้งแต่ ค.ศ. 1881-2016 รวม 51 ครั้ง และมีกำหนดจะจัดครั้งที่ 52 ใน ค.ศ. 2020 ๕ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
หัวข้อสำคัญของงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิท ระดับนานาชาติ 6 ครั้งล่าสุด มีดังนี้
1. การชุมนุมฯ ครั้งที่ 46 ณ ประเทศโปแลนด์ (25 พ.ค. – 1 มิ.ย. 1997)
หัวข้อ: ศีลมหาสนิทและเสรีภาพ
2. การชุมนุมฯ ครั้งที่ 47 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี (18-25 มิ.ย. 2000)
หัวข้อ: พระเยซูคริสตเจ้าพระผู้ไถ่แต่องค์เดียวของโลก ปังสำหรับชีวิตใหม่
3. การชุมนุมฯ ครั้งที่ 48 ณ กวาดาลาฮารา ประเทศเม็กซิโก (10-17 ต.ค. 2004)
หัวข้อ: แสงสว่างและชีวิตแห่งสหัสวรรษใหม่
4. การชุมนุมฯ ครั้งที่ 49 ณ เมืองควีเบ็ค ประเทศแคนาดา (15-22 มิ.ย. 2008)
หัวข้อ: ศีลมหาสนิท พระพรของพระเจ้าสำหรับชีวิตของโลก
5. การชุมนุมฯ ครั้งที่ 50 ณ เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ (10-17 มิ.ย. 2012)
หัวข้อ: The Eucharist: Communion with Christ and with one another
6. การชุมนุมฯ ครั้งที่ 51 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ (24-31 ม.ค. 2016)
หัวข้อ: พระคริสตเจ้าทรงดำรงอยู่ในท่าน ทรงเป็นความหวังเพื่อให้ท่านได้รับความรุ่งเรือง