พระวรสารนักบุญมัทธิวในทัศนะทางวรรณกรรม

วรรณคดีวิจารณ์

พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่ได้เป็นทั้งบันทึกและงานเขียนที่มีบรรณาธิการรวบรวม หากแต่เป็นเรื่องเล่าที่ประพันธ์ขึ้นมา ดังนั้นการวิจารณ์วรรณคดีในการศึกษาพระคัมภีร์ทุกวันนี้จึงมีนัยที่ครอบคลุมเกินกว่าเพียงการวิเคราะห์ภาษาและลีลาการเขียน กล่าวคือ เป็นการศึกษาเทคนิคเชิงโวหารที่ผู้ประพันธ์ใช้ในการประพันธ์เรื่องเล่า33 นักบุญมัทธิวไม่ได้ประพันธ์ขึ้นมาลอยๆ แต่ใช้แหล่งที่มาและธรรมประเพณีที่มีเค้ามูลจากเหตุการณ์จริงในชีวิตของพระเยซูเจ้าและการเคลื่อนไหวของคริสตชนในสมัยแรกอย่างแน่นอน กระนั้นผลงานประพันธ์ขั้นสุดท้ายก็เป็นงานสร้างสรรค์ทางวรรณกรรมของผู้เขียนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้กระทำการตัดสินใจในฐานะเจ้าของผลงานในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) วรรณกรรมประเภทใดที่ควรจัดหมวดหมู่ ปรับแปลงเพื่อให้เข้ากับงานประพันธ์ของท่าน (ดูข้างล่าง); (2) จะเริ่มและจบเรื่องราวตรงไหนและอย่างไร (ดูคำอธิบายสำหรับ 1:1, 18; 28:18-20); (3) จะกำหนดโครงสร้างของเรื่องเล่าอย่างไรให้การดำเนินเรื่องสื่อความหมายที่ท่านต้องการจะสื่อ (ดูข้างล่าง); (4) ผู้ที่เล่าเรื่องนี้น่าจะเป็นบุคคลผู้มีคุณลักษณะอย่างไร;34 (5) เรื่องนี้ควรจะเล่าจากมุมมองใด;35 (6) ควรวางโครงเรื่องนี้อย่างไร (7) ควรมีตัวละครใดบ้าง และตัวละครเหล่านั้นควรมีลักษณะเช่นไร; และ (8) งานประพันธ์นี้คาดได้ว่าเขียนให้ใครอ่าน กล่าวคือ ผู้อ่านในอุดมคติที่สันนิษฐานได้จากลักษณะการประพันธ์เอกสารนี้ ผู้อ่านในคริสตจักรของนักบุญมัทธิวที่ท่านนึกถึงในการประพันธ์งานนี้ ซึ่งอาจจะเป็นผู้อ่านที่แท้จริงหรือไม่ก็ได้36 ความสัมพันธ์กันของปัจจัยพลวัตขับเคลื่อนเหล่านี้ที่ทำให้เรื่องราวสื่อความหมาย การวิเคราะห์ลักษณะการสื่อความหมายโดยผ่านรูปแบบทางวรรณกรรมของเรื่องราวนี้ต้องมีการพิจารณาสาขาวิชาที่สัมพันธ์และเหลื่อมซ้อนกันหลายสาขา ซึ่งจะมองว่าทั้งหมดเป็นด้านต่างๆ ของการวิจารณ์วรรณคดีก็ได้ การวิจารณ์เรื่องเล่า (วิธีการเล่าเรื่อง) การวิจารณ์โวหาร หรือการวิจารณ์แนวการตอบ- สนองของผู้อ่านก็ย่อมได้

ในสถานะที่เป็นการวิจารณ์แหล่งที่มา ซึ่งเป็นแนววิจารณ์หลักในการศึกษาพระวรสารในศตวรรษที่ 19 ตอนปลายและศตวรรษที่ 20 ตอนต้น การวิจารณ์ที่เน้นความสำคัญของรูปแบบก็เป็นแนวการวิจารณ์ที่แพร่หลายในช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกสองครั้ง และการวิจารณ์ที่เน้นความสำคัญของการเลือกรูปแบบการเขียนได้กลายมาเป็นการวิจารณ์ที่มีอยู่มากที่สุดในระหว่างทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ดังนั้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา วรรณคดีวิจารณ์ ซึ่งไม่ได้เข้ามาแทนที่แนวการวิจารณ์อื่นๆ ก็ได้กลายมาเป็นวิธีการที่มีการให้ความสำคัญมากและจำเป็นในการตีความพระวรสาร แทนที่จะพยายามก่อโครงสร้างของแหล่งที่มาและรูปแบบที่มีมาแต่เดิมของตัวบทขึ้นใหม่ เพื่อจะใช้เป็นหน้าต่างที่มองผ่านออกไปยังเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลัง วรรณคดีวิจารณ์ในปัจจุบันเป็นการพยายามจะมองรูปแบบขั้นสุดท้ายของตัวบทในภาพรวม เพื่อจะเข้าไปในโลกของเรื่องราวที่ตัวบทนั้นสร้างขึ้นมา และรับสารของตัวเรื่องนั้นเอง ขณะที่วิธีวิจารณ์ที่เน้นความสำคัญของการเลือกรูปแบบการเขียนเอื้อให้ผู้ตีความกล่าวสารของพระวรสารออกมาเป็นข้อความเชิงนามธรรมเป็นชุดต่อเนื่องที่สรุปประเด็นหลักๆ ของ “เทววิทยาของผู้นิพนธ์พระวรสาร” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของงานเขียนที่ผู้ตีความได้แสดงให้เห็น วรรณคดีวิจารณ์ยืนยันสภาวะที่แยกออกจากกันไม่ได้ของสารและรูปแบบของเรื่องราวที่สารฝังตัวอยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นเครื่องเก็บรวบรวมที่สามารถจัดการคัดแยกของ “สาร” หรือ “เทววิทยา” ของผู้นิพนธ์พระวรสาร วรรณคดีวิจารณ์ย้ำเตือนให้เราตระหนักว่ารูปแบบพระวรสาร คือเรื่องราวเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า มีความต่อเนื่องกันกับรูปแบบของการสื่อสารที่พระเยซูเจ้าเองทรงเป็นผู้ใช้ ซึ่งก็คืออุปมาในพระวรสาร ซึ่งผู้เล่าเรื่องกลายมาเป็นตัวละครหลักในเรื่องนั้นเอง

ประเภท

ประเด็นเรื่องประเภทของวรรณคดีเป็นสิ่งอันเป็นพื้นฐานและจะละเลยไม่ได้ในการตีความ ประเภทที่เราคิดว่าเป็นประเภทของเอกสารที่เรากำลังอ่านอยู่เป็นสิ่งชี้ขาดสำหรับความหมาย ในทางทฤษฎี เราสามารถมองพระวรสารนักบุญมัทธิวเป็นชีวประวัติ เป็นประวัติศาสตร์ เป็นบันเทิงคดี หนังสืออธิบายปัญจบรรพ (Midrash) หรือหนังสือบทอ่านภาวนาที่ใช้ในพิธี และประเภทอื่นๆ ได้ หรือจะมองเป็นงานผสมระหว่างสองประเภท หรือมากกว่าสองประเภทก็ได้ ขณะที่สามารถอธิบายได้ว่าพระวรสารนักบุญมัทธิวเป็นอะไรก็ได้ที่ว่ามานี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าประเภทพระวรสารเป็นวรรณกรรมที่มีองค์ประกอบและมีความเหมือนกันมากกว่าหนึ่งประเภทขึ้นไป การอภิปรายโต้แย้งกันในเชิงวิชาการที่ได้มีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้มุ่งประเด็น (Centered on) ว่าควรจะตีความพระวรสารว่าเป็นชีวประวัติประเภทหนึ่งในสมัยเฮเลนนิสติก (Hellenistic Biography) ของพระเยซูเจ้าหรือไม่ หรือว่าวรรณกรรมประเภทพระวรสารนั้นเป็นรูปแบบดั้งเดิมของการเล่าเรื่องที่พระศาสนจักรในสมัยแรกคิดค้นขึ้นมาเพื่อสื่อสารถึงศรัทธาของศาสนาจักรในสมัยพระเยซูเจ้า คำอธิบายในปัจจุบันเป็นคำอธิบายที่เขียนขึ้นมาจากมุมมองที่ว่าวรรณกรรมประเภทพระวรสารนั้น เป็นแนวการประพันธ์ที่แปลกแหวกแนวอย่างเห็นได้ชัดซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงถึงความมั่นใจในความเชื่อเกี่ยวกับพระคริสต์ออกมาในรูปแบบของการเล่าเรื่องของคริสตศาสนาในยุคแรก

ประเด็นต่อไปนี้เป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับการพิจารณาประเภทวรรณกรรมของพระวรสารนักบุญมัทธิว

1. พระวรสารนักบุญมัทธิวเป็นเรื่องเล่าทั้งหมด โดยไม่ได้เป็นทั้งผลงานรวบรวมของเรื่องราวที่แยกกันและไม่ได้เป็นชุดวาทกรรมที่มีส่วนบรรยายเรื่องราวเป็นภาคผนวก ในฐานะเรื่องราว รูปแบบการสื่อสารของพระวรสารนี้เป็นแบบโดยอ้อม ดังนั้นการตีความพระวรสารนักบุญมัทธิวทั้งหมดต้องทำเหมือนเวลาตีความเรื่องราว ด้วยมุมมองและเครื่องมือในการวิจารณ์วรรณคดี

2. เนื่องจากพระวรสารนักบุญมัทธิวดัดแปลงและปรับเปลี่ยนมาจากพระวรสารนักบุญมาระโก โดยไม่ได้เปลี่ยนพื้นฐานในเรื่องของประเภท พระวรสารนักบุญมัทธิวจึงเหมือนกับพระวรสารนักบุญมาระโก ซึ่งมีลักษณะสองประการที่ทำให้พระวรสารนักบุญมัทธิว (และนักบุญมาระโก) ต่างออกไปจากชีวประวัติแบบเฮเลนนิสติก คือ (ก) พระวรสารนี้เป็นเรื่องเล่าของชุมชน ไม่ได้เป็นข้อเขียนที่เขียนเพื่อปัจเจกบุคคล วัตถุดิบสำหรับเรื่องราวมีที่มาจากธรรมประเพณีของชุมชน ที่มีความเชื่อทางเทววิทยาอยู่แล้ว ตัวเรื่องเป็นเรื่องราวที่มีวัตถุประสงค์เป็นการอ่าน (อ่านออกเสียงดัง) เพื่อใช้ในการนมัสการและการศึกษาของชุมชน ไม่ใช่เพื่อเป็นการอ่านส่วนตัวเพียงคนเดียวของปัจเจกบุคคล มีลักษณะของรุขปาฐะ16 อยู่เต็มไปหมด (ข) เรื่องเล่านี้มีคริสตศาสตร์แผ่ซ่านอยู่ และไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล่าเกี่ยวกับคริสตวิทยา แต่เป็นคริสตศาสตร์ในรูปแบบของเรื่องเล่าที่แม้ว่าจะเป็นเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในแทบจะทุกตอน แต่ใช้เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ (และเนื้อหาประเภทอื่นๆ) ของพระวรสารก็ไม่ได้เป็นการบอกเล่าชีวประวัติหาก แต่เป็นการสื่อสารเกี่ยวกับคริสตศาสตร์ (โดยเฉพาะพระวรสารนักบุญมัทธิว ได้กล่าวถึงพระศาสนจักรด้วย เนื่องจากไม่มีคริสตศาสตร์ที่ปราศจากความเข้าใจที่สอดรับกันเกี่ยวกับการเป็นศิษย์)

มีลักษณะที่เป็นแก่นสำคัญ 3 ประการที่บ่งบอกความเป็นคริสตศาสตร์ในรูปแบบของเรื่องเล่าของพระวรสาร

1. เรื่องราวพรรณนาถึงพระคริสต์ ซึ่งทั้งเปิดเผยถึงฤทธานุภาพอันเหนือธรรมชาติของพระเป็นเจ้าและความอ่อนแอของพระเยซูเจ้าผู้ทรงมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์เข้าไว้ในเรื่องเล่าเดียวกัน วรรณกรรมประเภทพระวรสารบรรยายถึงการดำเนินชีวิตบนโลกของบุคคลในประวัติศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งบัดนี้เป็นพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงได้รับการเทิดทูนและสถิตอยู่ผู้ยังคงทรงกระทำการและตรัสอยู่ โดยพรรณนาถึงพระเยซูเจ้าว่าเป็นทั้งพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงพระเทวภาพและผู้รับใช้ที่เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง ผู้ทรงรับความทรมานและสิ้นพระชนม์ ก่อนจะถึงพระวรสารนักบุญมาระโก คริสตศาสตร์ทั้งสองด้านนี้ขัดแย้งกัน นักบุญมาระโกเห็นคุณค่าของทั้งสองด้านและคิดค้นวิธีที่จะนำเสนอทั้งสองด้านนี้ร่วมกันในเรื่องเล่าเรื่องเดียว โดยมี “ความลับแห่งพระเมสสิยาห์” เป็นเครื่องมือทางวรรณกรรม-เทววิทยาและเป็นเครื่องมือหลัก นักบุญมัทธิวรับเอาผลที่นักบุญมาระโกได้สร้างขึ้น แต่ไม่ได้ต้องการเป็นเพียงความลับแห่งพระเมสสิยาห์แล้ว โดยท่านย่อขนาดความลับนี้ลงและรวมไว้ในเรื่องเล่าเพื่อให้เห็นเป็นเพียงร่องรอยเท่านั้น

2. การพรรณนาถึง “พระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้า” เป็นการพรรณนาที่แสดงถึงนิยามของลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การไถ่ กล่าวคือ ในการเล่าเรื่องราวของพระเยซูเจ้านั้นไม่ได้เล่าเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ในตัวเอง โลกของเรื่องเล่าในพระวรสารนั้นใหญ่กว่าเรื่องเล่าที่มีการวางโครงเรื่องไว้อย่างมาก เป็นการดำเนินเรื่องราวตั้งแต่การทรงสร้างจนถึงอวสานของโลก เรื่องราวของพระคริสต์ไม่ได้เป็นเรื่องราวทั้งหมดของสิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงกระทำในการช่วยกู้ให้รอด แต่เป็นส่วนที่ให้นิยามแก่เรื่องราวนั้น ในประวัติศาสตร์ ในชีวิตหนึ่ง ความหมายของประวัติศาสตร์ทั้งหมดเปิดเผยออกมา เป็นภาพอนาคตของชัยชนะเมื่อวาระอวสานของโลกของพระอาณาจักรพระเป็นเจ้า นี่เป็นสิ่งพื้นฐานของการรับว่า “พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระคริสต์” ประเภทของเรื่องเล่าที่เหมาะกับการกล่าวรับนี้ก็คือ พระวรสาร

3. ตัวละครที่เป็นศูนย์กลางของเรื่องเล่าเป็นพระเยซูเจ้าแห่งนาซาเร็ธ ผู้ทรงเป็นอยู่ ณ ที่นั้น ณ เวลานั้น โดยทรงเป็นพระบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ผ่านเข้ามาและในขณะเดียวกันก็เป็นพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ ผู้ที่ยังคงตรัสและกระทำการอยู่ในพระศาสนจักรของพระองค์ในปัจจุบันของผู้อ่าน ความเชื่อในการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้าเป็นสิ่งพื้นฐานของทัศนะแบบสองมิตินี้ เช่นที่คริสตศาสตร์มีนัยถึงพระศาสนจักรทั้งหมดและพระเยซูเจ้า อีกทั้งมีทัศนะสองมิติเกี่ยวกับตัวละครอื่นๆ ในเรื่องอยู่ด้วย คือบรรดาศิษย์ไม่ได้เป็นเพียงผู้ติดตามพระเยซูก่อนเทศกาลปัสกา แต่ยังเป็นบุคคลที่เป็นผู้อ่านชาวคริสต์ในสมัยของนักบุญมัทธิว ผู้ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปด้วย และชาวฟาริสีไม่ได้เป็นเพียงบุคคลในเรื่องราวที่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับพระเยซูเจ้าผู้เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ แต่ยังเป็นตัวแทนที่แสดงถึงการต่อต้านพระศาสนจักรในสมัยของนักบุญมัทธิวด้วย

พระวรสารมีความแตกต่างจากชีวประวัติแบบเฮเลนนิสติก ในแง่ที่ว่าพระวรสารสันนิษฐานและสื่อสารความเข้าใจทางคริสตศาสตร์เกี่ยวกับตัวละครศูนย์กลางของเรื่องที่ต่างจากวีรบุรุษและเทพเจ้าในยุคเฮเลนนิสติก ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของพระวรสารแบบนี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการตีความ ไม่ว่าจะพิจารณาคุณค่าว่าเป็นวรรณกรรมประเภทพระวรสารแท้จริงอย่างมีความเป็นเอกลักษณ์หรือไม่ก็ตาม

โครงสร้าง ความหมายและโครงสร้าง จะเห็นได้ว่าความหมายไม่ได้เป็นสิ่งที่สื่อสารในสิ่งที่กล่าวออกมาเท่านั้น แต่ยังสื่อสารออกมาโดยผ่านกลวิธีในการสื่อสารที่ประกอบเข้าไปในตัวบทเป็นโครงสร้างเชิงโวหารของตัวบทด้วย ดังนั้น เราต้องแยกให้ออกระหว่างเค้าโครงที่ผู้อ่านสมัยใหม่เอาไปครอบสิ่งที่อ่านและโครงสร้างเชิงโวหารของเอกสารเอง ซึ่งผู้เขียนประกอบเข้าไปในตัวบทและผู้ตีความค้นพบ นักบุญมัทธิวนำเสนอความสนใจมาที่ลักษณะทางโครงสร้างของตอนเปิดเรื่อง คือ 1:1-17 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าท่านเป็นผู้เขียนที่มีทักษะทางวรรณกรรมสูงพอควร ไม่ได้ประพันธ์อย่างไร้ระเบียบหรือทำแบบสบายๆ ไม่คิดมาก มีเครื่องบ่งชี้ถึงรูปแบบทางโครงสร้างมากมายที่อาจเป็นเงื่อนงำที่จะช่วยในการทำความเข้าใจโครงสร้างโดยภาพรวมของพระวรสารฉบับนี้

รูปแบบเชิงโครงสร้าง การเรียงตามลำดับเหตุการณ์

พระวรสารเป็นเรื่องเล่าที่มีการเรียงตามลำดับเหตุการณ์ จากบรรพบุรุษและพระประสูติของพระเยซูเจ้ามาจนถึงการรับพิธีล้างของพระองค์ พระราชกิจของพระองค์ในกาลิลี การเดินทางครั้งสุดท้ายไปยังเยรูซาเล็ม ความขัดแย้ง การจับกุม การตรึงกางเขน การกลับคืนพระชนม์ชีพ และการมอบหมายภารกิจแก่บรรดาศิษย์เป็นการปิดท้าย นักบุญมัทธิวทำให้ความเชื่อมโยงทางลำดับเวลาของแหล่งที่มาของท่านหนักแน่น ทำให้ประโยคที่เชื่อมกันโดยไม่ใช้คำเชื่อม (ประโยคที่ขนานกันแทนที่จะเป็นประโยคความซ้อน) ของพระวรสารนักบุญมาระโกหลายประโยค (อนุประโยคที่มีลักษณะขนานกันมากกว่าจะเป็นความซ้อนของกันและกัน) ที่มี “และ” (kai” kai) หรือ “ต่อมา” (eujqu”v euthys) กลายมาเป็นเรื่องเล่าตามลำดับเหตุการณ์อย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งผลก็คือการผูกเรื่องราวที่แน่นกระชับขึ้น กระนั้นก็ดี เห็นได้ชัดว่าลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของชีวิตพระเยซูเจ้าไม่ได้เป็นหลักการในการวางโครงสร้างของนักบุญมัทธิว เนื่องจากท่านไม่ได้รีรอที่จะจัดเรียงลำดับเหตุการณ์ของแหล่งที่มาของท่านใหม่และไม่ได้สนใจที่จะบูรณาการเอาเรื่องเล่าเข้ามาอยู่ในการลำดับเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ที่อยู่ภายนอกของเรื่องราว (เทียบ ลูกา 3:1-2) ผลก็คือผู้อ่านไม่สามารถระบุวันที่หรือระยะเวลาของเหตุการณ์ที่พรรณนาไว้ในเรื่องเล่าได้

ภูมิศาสตร์

เช่นเดียวกับในพระวรสารนักบุญมาระโก “กาลิลี” และ “ยูเดีย” มีบทบาททางโครงสร้างที่สำคัญในงานประพันธ์นี้ ก่อนที่พระเยซูเจ้าจะเริ่มต้นพระราชกิจของพระองค์ พระองค์ออกจะเป็นผู้เดินทางพเนจร(Wanderer) เรื่องราวดำเนินจากเบธเลเฮมไปอียิปต์ กลับมาที่นาซาเร็ธ แล้วก็ไปยังจอร์แดนเพื่อรับพิธีล้าง เข้าไปในถิ่นทุรกันดารและถูกทดลอง (ซึ่งมีการเดินทางกลับไปยังเยรูซาเล็มและ “ภูเขาอันสูงยิ่งนัก”) แล้วก็กลับมายังนาซาเร็ธก่อนจะตั้งหลักปักฐานที่คาเปอร์นาอุมให้เป็น “เมืองของพระองค์” (4:12-13; cf. 9:1) ท้ายที่สุด นักบุญมัทธิวระบุไว้อย่างเจาะจงว่าพระราชกิจของพระเยซูเจ้าเริ่มต้นใน “กาลิลีแห่งบรรดาประชาชาติ” โดยเน้นสถานที่ด้วยข้อความที่คัดลอกมาอันเป็นรูปแบบของท่าน (4:14-16 สำหรับการใช้ข้อความที่คัดมาอันเป็นรูปแบบของท่าน ดูบทเสริมเรื่อง “มัทธิวในฐานะผู้ตีความพระคัมภีร์” 151-54) แม้ว่าพระเยซูเจ้าจะเดินทางข้ามทะเลสาบกาลิลีและเข้าไปในไทระและไซดอน นักบุญมัทธิวก็ดูจะนึกภาพว่าพระราชกิจทั้งหมดของพระเยซูเจ้าเกิดขึ้นในกาลิลีจนถึง 19:1 นับจากจุดนี้ไป นักบุญมัทธิวคิดว่าพระเยซูเจ้าทรงอยู่ในยูเดีย รวมทั้งอาณาเขตบนชายฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน(เปเรอา, ทรานส์จอร์แดน)ด้วย ในทางภูมิศาสตร์ อาจมองเรื่องเล่านี้เป็นสามส่วนได้ดังนี้

  1. การเตรียมพร้อมก่อนมายังกาลิลี (1:1-4:16)
  2. พระราชกิจในกาลิลี (4:17-18:35)
  3. ความขัดแย้งในยูเดีย การสิ้นพระชนม์ การฟื้นพระชนม์ชีพ การเสด็จกลับสู่กาลิลี (19:1-28:20)

สรุป

แหล่ง Q ไม่มีบทสรุปในรูปแบบเรื่องเล่า และพระวรสารนักบุญมาระโกก็มีสรุปเพียงสองบทที่แสดงให้เห็นภาพพระเยซูเจ้าทรงเดินทางและสรุปช่วงเวลาอันยาวนานของการเทศนาและการรักษาโรค (มก. 1:14-15; 6:6ข) นอกจากนี้ พระวรสารนักบุญมาระโกมีข้อความกล่าวสรุปหลายข้อความที่แสดงให้เห็นภาพพระเยซูเจ้าทรงรักษาโรคและสั่งสอนในในวาระต่างๆ กัน โดยไม่ได้บรรยายรายละเอียด (มก. 1:32-34; 3:7-12; 6:32-33, 53-56: 10:1) นักบุญมัทธิวรับช่วงบทสรุปทั้งหมดของนักบุญมาระโก และใช้บทสรุปเหล่านี้เป็นสะพานเชื่อม รวมทั้งขยายความข้อสรุปเหล่านี้ มีการใช้ มก. 3:7-12 และ 6:6ข ใน มธ. 4:23-5 และ 9:35 เป็นข้อพระคัมภีร์อ้างอิงที่มีนัยทางโครงสร้างอันสำคัญสำหรับหน่วยหลักของพระวรสารนักบุญมัทธิว อย่างไรก็ดี หากปราศจากการอ้างอิงถึงข้อพระคัมภีร์อื่นดังกล่าวแล้ว บทสรุปก็จะไม่ได้มีบทบาทเชิงโครงสร้างอันสำคัญในงานประพันธ์ของนักบุญมัทธิวเลย

คำพูด (Speech: พระวรสารเทศนา)

นักบุญมัทธิวนำพระวรสารเทศนาของพระเยซูเจ้ามาสรุปไว้ห้าครั้งโดยใช้รูปแบบเกือบจะเหมือนกัน คือ “ครั้นพระเยซูเจ้าตรัสคำเหล่านี้เสร็จแล้ว” (7:28 พระคัมภีร์ฉบับ NRSV มาตรฐานเรียงพิมพ์ใหม่; เทียบกับ 11:1; 13:53; 19:1; 26:1) รูปแบบดังกล่าวไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงบทสรุปเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนเชื่อมต่อ ซึ่งนำความสนใจกลับไปยังพระวรสารเทศนาที่พระเยซูเจ้าได้ตรัสจบไปแล้วและนำมาสู่เรื่องเล่าที่จะดำเนินต่อเนื่องไป ความสัมพันธ์ของพระวาจาของพระเยซูเจ้าเข้ากับสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำและผนวกเอาสิ่งที่ตรัสและเรื่องเล่าเข้าไว้ด้วยกัน แม้ว่าข้อความเหล่านี้อาจมาจากข้อความที่เป็นส่วนเชื่อมต่อในแหล่ง Q (ลก.  7:1) แต่ข้อความเหล่านี้ก็ล้วนได้รับการเรียบเรียงมาแล้ว ซึ่งแสดงถึงส่วนหนึ่งของรูปแบบเชิงโครงสร้างของพระวรสารนักบุญมัทธิวเอง เค้าโครงของสิ่งที่พระเยซูเจ้าตรัสและตำแหน่งของสิ่งที่ตรัสในเรื่องเล่า แสดงถึงการตัดสินใจทางการประพันธ์ของนักบุญมัทธิวเอง (ดูเค้าโครง) พระวรสารเทศนาของพระเยซูเจ้าแต่ละครั้งต่างก็แสดงถึงสาระหลักๆ ของพระวรสาร: (1) คำเทศน์สอนบนภูเขา (5:1-7:29) แสดงถึงการสอนโดยมีสิทธิอำนาจของพระเมสสิยาห์ ผู้ซึ่งมิได้ทรงมาเพื่อลบล้างธรรมบัญญัติแต่ทรงมาเพื่อทำให้สำเร็จสมบูรณ์ไปตามธรรมบัญญัติ (2) วาทกรรมแห่งพันธกิจ, 10: 5ข-42, เป็นสิ่งที่พระคริสต์ตรัสต่อศิษย์ของพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงส่งออกไปกระทำพันธกิจโดยเป็นตัวแทนพระคริสต์และมีสิทธิอำนาจของพระองค์ (3) ผลงานรวบรวมคำอุปมา, 13:1-52 พรรณนาถึงภาวะซ่อนเร้นของพระอาณาจักรพระเป็นเจ้าในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ขัดแย้งกันกับอาณาจักรแห่งความชั่วร้ายของยุคนี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็มีชัยเหนืออาณาจักรนั้น (4) วาทกรรมในข้อ 18:1-35 มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตภายในของพระศาสนจักร กล่าวถึงความจำเป็นของพระศาสนาจักรทั้งในเรื่องของวินัยอันเคร่งครัดและการอภัยอย่างลึกซึ้งหากสมาชิกของพระศาสนจักรจะอยู่ร่วมกันเป็นสาวกของพระคริสต์ (5) วาทกรรมเรื่องการพิพากษาอันเป็นวาทกรรมสรุปปิดท้าย 23:1-25:46 สอดรับกับคำเทศนาบนภูเขาซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ที่ให้ไว้แต่แรก และวางตำแหน่งของชีวิตตามการทรงเรียกอยู่ในบริบทเฉพาะทางอวสานวิทยา คือบริบทของการพิพากษาที่จะมาถึงทุกคนและชัยชนะของพระอาณาจักรพระเป็นเจ้า

พอมาถึงศตวรรษที่ 2 มีการมองกันว่านักบุญมัทธิวออกแบบโครงสร้างงานเขียนเป็น “พระวรสาร” 5 เล่มย่อย โดยเอาอย่างหนังสือปัญจบรรพ (Torah or Pentateuch) และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับความเข้าใจธรรมบัญญัติตามแบบอย่างของชาวยิว ซึ่ง บี. ดับเบิ้ลยู. เบคอน (B. W. Bacon) ได้ทำให้มุมมองนี้เป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 20 ตอนต้น และตั้งแต่นั้นมา มุมมองนี้ได้มีนักวิชาการแนวหน้าหลายคนที่ศึกษาพระวรสารนักบุญมัทธิวนำไปใช้ในรูปแบบที่ต่างๆ กันไป ซึ่งบันทึกคำตรัสสอนเป็นสาระสำคัญซึ่งสอดแทรกอยู่เป็นลำดับแรกในเรื่องเล่าตามกรอบโครงสร้างของพระวรสาร ไม่ใช่จัดคำตรัสสอนของพระเยซูเจ้าหรือพระวรสารเทศน์สอน 5 ตอนให้เป็นหลักของการจัดวางโครงร่างเรื่องเล่าของพระวรสาร

ความรู้ทั่วไป